เมนู

193. อรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน


พึงทราบอปทานของท่านพระเถระรูปที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขณฺฑํ ในบทว่า ขณฺฑผุลฺลิยตฺเถโร นี้ หมายถึงสถานที่
ที่ขรุขระผุพังเพราะไม้ทั้งหลายเก่าชำรุด. บทว่า ผุลฺลํ หมายถึงที่ตรงที่
แตกออก เช่นตามมุมที่ประดับประดาพื้นที่และฉัตรเป็นต้น ในที่ที่ไม้
ทั้งหลายผุพังไป. ขณฺฑ และ ผุลฺล รวมกันเป็น ขณฺฑผุลฺลานิ การ
ซ่อมแซมไม้ที่ชำรุดผุพัง คือย้ำทำให้มั่นคงแข็งแรง รวมเรียกว่าปฏิสังขรณ์
สิ่งที่ชำรุดผุพัง. ก็ในเวลาที่พระเถระรูปนี้บำเพ็ญบุญสมภาร ทำการฉาบทา
ปูนขาวตรงที่ชำรุดผุพัง ที่พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ผุสสะ ให้มั่นคงแข็งแรง ชื่อว่าปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง. เพราะฉะนั้น
พระเถระรูปนั้นจึงได้ปรากฏชื่อว่าขัณฑผุลลิยเถระ.
จบอรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน

อโสกปูชกเถราปทาหที่ 4 (194)


ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกอโศก


[196] ในกาลนั้น มีพระราชอุทยานอยู่ในพระนครติปุระอัน
น่ารื่นรมย์ เราเป็นคนรักษาพระราชอุทยานอยู่ในนครนั้น เป็น
คนรับใช้ของพระราชา.

พระสมัยภูมีพระนามว่าปทุม ผู้ทรงมีพระปัญญาฉลาด
หลักแหลม พระฉายไม่ละพระองค์ผู้เป็นมุนี ซึ่งประทับนั่ง
บนดอกบัวขาว.

เราเห็นอโศกมีดอกบานเป็นกลุ่มๆ (พวงช่อ) น่าดูนัก จึง
(หัก) บูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมผู้อุดม.

ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.

ในกัปที่ 70 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 16 ครั้ง
พระนามว่าอรณัญชหะสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอโสกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอโสกปูชกเถราปทาน